วันเสาร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการอ่านวิจัย



วิจัย

การพัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยโดยการใช้รูปแบบ
กิจกรรมศิลปสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้




.................................................................................................................

สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากบทความ




บทความเรื่อง  การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย 



 สรุปองค์ความรู้
               
             การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ช่วยให้เด็กได้พัฒนาคุณลักษณะตามวัยที่สำคัญ 4 ด้านได้แก่ ด้านร่างกาย การจัดกิจกรรมให้เด็กได้สำรวจสิ่งต่างๆรอบตัว เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าและใช้อุปกรณ์สำรวจอย่างง่าย ซึ่งเป็นการพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็ก  ด้านอารมณ์และจิตใจ การจัดกิจกรรมสำรวจและทดลอง เด็กได้รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง รู้จักใช้เหตุผล กล้าตัดสินใจ ได้แสดงผลงานและความสามารถจากการสำรวจด้านสังคม เด็กได้ฝึกการช่วยเหลือตนเองในการทำกิจกรรม รู้จักทำงานร่วมกับเพื่อน รู้จักการให้และการรับ ฝึกการปฏิบัติตามกฎระเบียบหรือข้อตกลงร่วมกัน และเห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อมรอบตัวและช่วยกันดูและรักษา ด้านสติปัญญา เด็กได้พัฒนาความสามารถในการถามคำถามเชิงวิทยาศาสตร์ การค้นหาคำตอบด้วยวิธีการต่างที่เหมาะสมกับวัย ได้บอกลักษณะของสิ่งที่สำรวจพบด้วยคำพูด การวาดภาพ ได้เรียนรู้ใหม่และบอกวิธีการเรียนรู้ของตนเอง 

สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการดูโทรทัศน์ครู


สอนวิทย์คิดสนุกกับเด็กปฐมวัย

                                            http://www.thaiteachers.tv/vdo2.php?id=3504



             นำเสนอสื่อการทดลองวิทยาศาสตร์ของ คุณครูกรรณิการ์ เฉิน เพื่อเป็นเทคนิคในการพัฒนาการของเด็กปฐมวัยโดยใช้วัสดุรอบตัว โดยใช้น้ำตาลก้อนหยดสีลงไปแล้วดูการเปลี่ยนแปลง, การใช้กระดาษทิชชูอธิบายความลับของสีดำซึ่งมีสีอื่นๆ ซ่อนอยู่มากมาย หรือการอธิบายเรื่องแรงตึงของผิวน้ำโดยใช้อุปกรณ์ง่ายๆ ที่อยู่รอบตัวในการอธิบายให้เห็นภาพ และเข้าใจได้ง่ายๆ


การเข้าเรียนครั้งที่ 18

วันที่ 29 กันยายน 2556

เรียนชดเชยครั้งที่ 2

กิจกรรมการเรียนการสอน


องค์ความรู้ที่ได้รับ
    -วันนี้ อาจารย์ได้ให้นักศึกษานำเสนอสื่อวิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับการทดลอง
    





วัสดุอุปกรณ์
  1. ลูกโป่ง
  2. แก้วน้ำเหลือใช้
  3. ที่สูบลูกโป่ง
  4. จานแบนใส่น้ำมานิดหนึ่ง


วิธีทำ 
  1. เอาปากแก้วจุ่มลงไปในน้ำเล็กน้อย 
  2. เป่าลูกโป่ง (ขนาดตามต้องการ)
  3. เอาแก้วทั้งสองในประกบติดที่ลูกโป่ง(คนละด้าน)
  4. ตกแต่งลูปโป่งตามใจชอบ

หลักการทางวิทยาศาสตร์

        เมื่่อเรากดแก้วติดกับลูกโป่ง จะทำให้ส่วนโค้งของผิวลูกโป่งอยู่ลึกเข้าไปในปากแก้ว พอเป่าลมเข้าไปเรื่อยๆทำให้ลูกโป่งขยายตัวขึ้น ความโค้งของผิวจะลดลง เนื้อที่ภายในแก้วจึงเพิ่มขึ้น แต่ปริมานของอากาศมีเท่าเดิม จึงทำให้ความดันในแก้วลดลงน้อยกว่าความดันของอากาศภายนอก เกิดภาวะที่เรียกว่าศูนย์ยากาศบางส่วน ความดันอากาศภายนอกจึงดันแก้วให้ติดแน่นอยู่บนผิวของลูกโป่ง
        ประโยชน์ของความดันอากาศ ที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน  เช่น การดูดหมึกเข้าไปในปากกาหมึกซึม , ลูกยางติดกระจกในห้องน้ำ





วันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การเข้าเรียนครั้งที่ 17

วันที่ 25 กันยายน 2556


กิจกกรรมการเรียนการสอน

องค์ความรู้ที่ได้รับ

-  วันนี้อาจารย์ให้สรุปองค์ความรู้ที่ได้รับใน วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย





ทักษะที่ได้รับ
   - ได้รับความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก


การนำไปประยุกต์ใช้
    1. นำสิ่งที่ได้เรียนไปปรับใช้่ในการเป็นครู
    2. นำสิ่งที่ได้ไปเป็นแนวทางในการสอนเด็ก



การเข้าเรียนครั้งที่ 16

วันที่ 18 กันยายน 2556


กิจกรรมการเรียนการสอน

องค์ความรู้ที่ได้รับ

- หลังจากที่ได้เขียนแผน cooking ครั้งที่แล้ว.....วันนี้กลุ่มเรียนของเราลงมือทำ "ไข่ตุ๋น" 

- ขั้นตอนการจัดประสบการณ์ cooking ไข่ตุ๋นแฟนซี

   1. ครูให้เด็กๆนั่งเป็นครึ่งงวงกลม
   2. ครูจัดเตรียมอุปกรณ์ไว้หน้าชั้นเรียน โดยใช้คำถามว่า
        - เด็กเห็นไหมค่ะ วันนี้คุณครูมีอะไรมา?
        - เด็กคิดว่าว่านี้เราจะมาทำกิจกรรมอะไรกันค่ะ? 
        - เด็กๆ เคยทานหรือทำไข่ตุ๋นกันไหมค่ะ? เด็กๆคิดว่ามันจะเป็นอย่างไรค่ะ?
   3. ครูแนะนำวัสดุ-อุปกรณ์ในการประกอบอาหาร


วัสดุ - อุปกรณ์

ครูถามเด็ก และ แนะนำวัสดุ-อุปกรณ์

   4. คุณครู ใช้คำถามหาอาสาสมัครมาหั่นผัก "เด็กๆคนไหนอยากหั่นผักให้คุณครูบ้างค่ะ"



   5. เริ่มทำไข่ตุ๋น  โดยการตีไข่ให้เข้ากัน  ใส่แครอท  ผักชี  ต้นหอมและปูอัดลงในถ้วย  และใส่ซีอิ๊วขาวเพิ่มความอร่อย 




    6. นำถ้วยไข่ตุ๋นใส่ในหม้อนึ่ง รอประมาณ 15-20 นาที   ระหว่างการรอไข่ตุ๋นสุกนั้นครูและเด็กๆร่วมกันสนทนาถึงการทำไข่ตุ๋นครั้งนี้
    


   7. ไข่ตุ๋นฝีมือของเด็กๆเสร็จแล้ว



ทักษะที่ได้รับ

1. ได้ทำไข่ตุ๋นเป็น
2. ได้รับประสบการณ์ในการทำที่แปลกใหม่
3. ได้เข้าใจในการสอนทำอาหารของเด็กปฐมวัย


การนำไปประยุกต์ใช้

1. นำกิจกรรมไปสอนเด็กได้
2. การนำวิธีการสอนไปใช้ในอานาคต


        

การเข้าเรียนครั้งที่ 15 (เรียนชดเชย)

วันที่ 15 กันยายน 2556

เรียนชดเชยครั้งที่1

กิจกรรมการเรียนการสอน

องค์ความรู้ที่ได้รับ

- อาจารย์พูดถึงเรื่องการตรวจบล็อก ให้นักศึกษาปรับปรุงของแต่ละคน
- ทำกิจกรรมกลุ่ม "เขียนแผนการสอนทำอาหารสำหรับเด็ก"

กลุ่มของพวกเราทำข้าวผัด U.S.A.




ภาพนำเสนอแผนการสอนข้าวผัด U.S.A.




ทักษะที่ได้รับ

1. ได้ประสบการณ์ในการเขียนแผนการทำอาหาร
2. ได้ทำงานร่วมกันเป็นทีมแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน


การนำไปประยุุกต์ใช้

1. นำการเขียนแผนไปใช้ในการฝึกวิชาชีพ
2. นำเทคนิคการทำอาหารมาใช้





วันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2556

การเข้าเรียนครั้งที่14

วันที่ 11 กันยายน 2556



*ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากอาจารย์ติดภาระกิจราชการ*

มีงานมอบหมายคือ เตรียมจัดทำรูปเล่มที่ไปศึกษาดูงาน

การเข้าเรียนครั้งที่13

วันที่ 4 กันยายน 2556



*ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากอาจารย์ติดภาระกิจราชการ*


มีงานมอบหมายคือ เตรียมจัดทำรูปเล่มที่ไปศึกษาดูงาน



การเข้าเรียนครั้งที่12

วันที่ 28 สิงหาคม  2556


ศึกษาดูงาน วันที่ 27-28  สิงหาคม 2556

ณ สาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา   และ  โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จ.บุรีรัมย์











การเข้าเรียนครั้งที่11

วันที่  21  สิงหาคม  2556


**ไม่มีการเรียนนการสอน**

       -  มอบหมายงานให้ไปหาข้อมูลที่เราจะไปศึกษาดูงาน และเตรียมตัวตามหน้าที่ขอตนเองที่ได้
มอบหมาย
       -  ให้นักศึกษาประดิษฐ์ ของเล่นวิทยาศาตร์และการทดลองวิทยาศาตร์



การเข้าเรียนครั้งที่10

วันที่ 14 สิงหาคม 2556


อาจารย์เข้าสอน   08:56  น.  
นักศึกาาเข้าเรียน  08:30  น.



กิจกรรมการเรียนการสอน

     1.  นัดหมายการไปศึกษาดูงาน ที่ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และโรงเรียนลำปลาบมาศพัฒนา จ.บุรีรัมย์ ในวันที่  27 - 28  สิงหาคม  2556

     2.   ตรวจบล็อก พร้อมให้คำแนะนำ เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์

     3.   มอบหมายหน้าที่ในการไปศึกษาดูงาน



หมายเหตุ**  
        อาทิตย์หน้าไม่มีการเรียนการสอน แต่มีงานที่ต้องทำคือให้ทำว่าวใบไม้

การเข้าอบรม

วันที่ 13 สิงหาคม 2556



โครงการ "การจัดการศึกษาสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต"

วันอังคาร ที่  13  สิงหาคม  2556 เวลา 13:00 - 16:30 น.

ณ  ห้องประชุมจันทร์ประภัสส์  ชั้น 5  อาคารสำนักงานอธิการบดี

บรรยายพิเศษ  โดย  คุณมีชัย  วีระไวทยะ









การเข้าเรียนครั้งที่9

วันที่ 7 สิงหาคม  2556




โครงการทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรม

นักศึกษาสาขา การศึกษาปฐมวัย

โครงการ  "กายงาม ใจดี ศรีปฐมวัย"






การเข้าเรียนครั้งที่8

วันที่ 31 กรกฎาคม 2556


***หมายเหตุ วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจาก เป็นวันสอบกลางภาคเรียนที่ 1***



สู้ สู้ ๆๆ ๆ ๆ 

การเข้าเรียนครั้งที่7

วันที่ 24 กรกฎาคม 2556


อาจารย์เข้าสอน   09:00  น.  เนื่องจากอาจารย์ติดภาระกิจงาน
นักศึกาาเข้าเรียน  08:25  น.

กิจกรรมการเรียนการสอน

องค์ความรู้ที่ได้รับ

       - กระบวนการทางวิทยาศาสตร์




      - ดู VDO Project Approach

                    สรุป    การสอนแบบโครงการปฐมวัยมี 5 ลักษณะ

              ลักษณะที่  1    การอภิปราย  >> เด็กมีส่วนร่วมในกิจกรรมม
              ลักษณะที่  2    การนำเสนอประสบการณ์เดิม
              ลักษณะที่  3    การทำงานภาคสนาม  >> การไปศึกษาจากแหล่งข้อมูลจริง
              ลักษณะที่  4    การสืบค้น
              ลักษณะที่  5    การจัดการแสดง  >> ได้นำเสนอ



      ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

            เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัย สามารถคิดเหตุผล แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาได้ตามวัยของเด็ก ควรจัดกิจกรรมที่ลงมือกระทำกับวัตถุ




วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การเข้าเรียนครั้งที่6

วันที่ 17 กรกฎาคม 2556

กิจกรรมการเรียนการสอน


         หมายเหตุ      เนื่องจากวันนี้อาจารย์ผู้สอนติดภาระกิจ จึงไม่มีการเรียนการสอน   แต่อาจารย์ผู้สอนได้มอบหมายงานไว้   คือ  ให้คิดการทดลองวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และ  สื่อวิทยาศาตร์ที่ไว้ในมุมเสริมประสบการณ์

การทดลอง


กาวอากาศ







วัสดุอุปกรณ์
  1. ลูกโป่ง
  2. แก้วน้ำเหลือใช้
  3. ที่สูบลูกโป่ง
  4. จานแบนใส่น้ำมานิดหนึ่ง


วิธีทำ 
  1. เอาปากแก้วจุ่มลงไปในน้ำเล็กน้อย 
  2. เป่าลูกโป่ง (ขนาดตามต้องการ)
  3. เอาแก้วทั้งสองในประกบติดที่ลูกโป่ง(คนละด้าน)
  4. ตกแต่งลูปโป่งตามใจชอบ

หลักการทางวิทยาศาสตร์

        เมื่่อเรากดแก้วติดกับลูกโป่ง จะทำให้ส่วนโค้งของผิวลูกโป่งอยู่ลึกเข้าไปในปากแก้ว พอเป่าลมเข้าไปเรื่อยๆทำให้ลูกโป่งขยายตัวขึ้น ความโค้งของผิวจะลดลง เนื้อที่ภายในแก้วจึงเพิ่มขึ้น แต่ปริมานของอากาศมีเท่าเดิม จึงทำให้ความดันในแก้วลดลงน้อยกว่าความดันของอากาศภายนอก เกิดภาวะที่เรียกว่าศูนย์ยากาศบางส่วน ความดันอากาศภายนอกจึงดันแก้วให้ติดแน่นอยู่บนผิวของลูกโป่ง
        ประโยชน์ของความดันอากาศ ที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน  เช่น การดูดหมึกเข้าไปในปากกาหมึกซึม , ลูกยางติดกระจกในห้องน้ำ







สื่อวิทยาศาสตร์ มุมประสบการณ์

แมงมุมน้อย


อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม
  1. ฝาขวดกาแฟ
  2. แฟ้มกระดาษ
  3. ดินสอ
  4. กรรไกร
  5. ไม้บรรทัด
  6. ปากกา
  7. หมุดยึดกระดาษ
อุปกรณ์ที่ใช้ทดลองเพิ่มเติม
  1. กรรไกร
  2. ไม้บรรทัด
  3. ด้ายเย็บผ้า
  4. กระดาษ
  5. กาว
วิธีทำ
  1. วางฝาขวดกาแฟทาบบนแฟ้มกระดาษ
  2. ใช้ดินสอลากเส้นรอบขอบฝา
  3. ตัดรูปวงกลมออกมาให้ทะลุแฟ้มทั้งสองชั้น
  4. ใช้ไม้บรรทัดกับดินสอขีดเส้น 2 เส้น ตัดกันบนกระดาษกลมแต่ละแผ่น เพื่อแบ่งวงกลมให้เป็นสี่ส่วนเท่าๆกัน
  5. ตัดส่วนหนึ่งในสี่ส่วนของกระดาษกลมออกตามตัวอย่าง
  6. พลิกกระดาษกลับไปอีกด้าน แล้วเขียนคำว่า แมงมุม กำกับไว้
  7. ใช้ดินสอวาดภาพพร้อมเขียนข้อความกำกับขั้นตอนการเติบโตของแมงมุมทั้ง 4 ขั้น ตามตัวอย่างข้างล่างบนกระดาษกลมอีกแผ่น แล้วใช้ปากกาเขียนทับรูปและตัวหนังสือที่เขียนร่างไว้
  8. ใช้ดินสอเจาะรูตรงกลางกระดาษกลมแต่ละแผ่น
  9. วางกระดาษกลมทั้งสองแผ่นซ้อนกันโดยให้แผ่นแรกที่ตัดส่วนหนึ่งออกทับข้างบน หงายด้านที่เขียนคำว่าแมงมุมขึ้น เราจะมองเห็นรูปบนกระดาษแผ่นล่างที่ตัดออก
  10. ใช้หมุดยึดติดกระดาษกลมทั้งสองแผ่นไว้ด้วยกัน เราก็จะได้ผังแสดงวงจรการเติบโตของแมงมุม
  11. วางผังแสดงวงจรบนโต๊ะ ใช้มือหนึ่งจับแผ่นบนไว้ อีกมือหนึ่งหมุนวงกลมแผ่นล่างทวนเข็มนาฬิกา เราจะเห็นการเติบโตขั้นต่างๆ ทางส่วนที่ตัดออกที่ละขั้น

ใช้กับเด็กได้อย่างไร

        เด็กๆจะได้เห็นการเจริญเติบโตของสัตว์  แมงมุมเกิดจากไข่ มันฟักออกมาเป็นแมงมุมตัวจิ๋ว แล้วค่อยๆๆโตเป็นแมงมุมตัวโต


ภาคผนวก





การเข้าเรียนครั้งที่ 5

วันที่ 10 กรกฎาคม  2556


อาจารย์เข้าสอน  :  08.45 น.
นักศึกษาเข้าเรียน  :  08.20  น.


กิจกรรมการเรียนการสอน

องค์ความรู้ที่ได้รับ

   - นำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์ "ปิงปองหมุนวน"




วัสดุอุปกรณ์

     1. ลวด
     2. ตะเกียบ
     3. ฝาขวดน้ำหรือปิงปอง
     4. ยางลบ

ขั้นตอนการทำ

    1. ดัดลวดเป็นวงกลม พันไว้กับไม้ตะเกียบด้านใดด้านหนึ่ง


2. นำยางลบก้อนสี่เหลี่ยมเสียบกับไว้ตะเกือบด้านที่เหลือ


3. นำฝาขวดมาเจาะรูตรงกลาง ร้อยใส่ไปในลวดที่ไม่ได้ผูกไว้
4. เสียบปลายลวดทั้งสองข้างไปที่ยางลบ



วิธีเล่น

     จับที่ปลายไม้ตะเกียบด้านบนแล้วหมุนไปตามแรงของเรา

หลักการทางวิทยาศาสตร์

     หลักการเคลื่อนที่แบบวงกลม การที่วัตถุเคลื่อนที่เป็นวงกลมรอบศูนย์กลางเกิดขึ้นเนื่องจากทิศทางการเคลื่อนที่ของวัตถุจะเป็นเส้นตรงเสมอ มีแรงดึงวัตถุเข้าสู่ศูนย์กลาง ทำให้วัตถุเคลื่อนที่เป็นวงกลม ส่วนแรงที่เป็นคู่ตรงข้ามกับแกน เข้าสู่แกนกลางเรียกว่า แรงเหวี่ยง หรือ แรงหนีศูนย์กลาง

ทักษะที่ได้รับ
      - ได้รู้หลักการการเคลื่อนที่
      - การนำวัสดุเหลือใช้มาทำเป็นสื่อ

การนำไปประยุกต์ใช้
      - การนำสิ่งต่างๆๆมาปรับใช้ในการสอน
      - การนำเสนองานต้องพูดให้ชัดเจน



การเข้าเรียนครั้งที่4

วันที่ 3 กรกฎคม  2556



อาจารย์เข้าสอน   08.35  น.
นักศึกษาเขารียน   08.20  น.

กิจกรรมการเรียนการสอน

องค์ความรู้ที่ได้รับ 

    1. อาจารย์นำสื่อวิทยาศาสตร์มาให้ดู   "กระบอกลูกปิงปอง"
     

กระบอกลูกปิงปอง สอนเรื่อง แสงทะลุผ่านทำให้มองเห็นลูกปิงปอง

    2. แจกกระดาษ 2 แผ่น ทำเป้นสมุดเล่มเล็ก "วาดรูป"



    3. ดู VDO เรื่อง มหัศจรรย์ของน้ำ

      

            การทดลอง แครอท แอปเปิ้ล




          สรุปได้ว่า สิ่งต่างๆในโลกย่อมมีน้ำเป็นส่วนประกอบ น้ำเป็นสิ่งสำคัญสำหรับสิ่งมีชีวิตทุกประเภท น้ำในร่างกายจะช่วยปรับสมดุลในร่างกาย

          น้ำมี 3 สถานะ
   1.  จากของแข็ง      เป็น  ของเหลว
   2.  จากของเหลว     เป็น  ของแข็ง
   3.  จากก๊าซ           เป็น  ไอน้ำ
         

          การทดลอง การระเหย




         สรุปได้ว่า น้ำในจานจะระเหยเยอะกว่า  น้ำระเหยเมื่อได้รับความร้อน ระเหยบนผิวน้ำ ผิวหน้ากว้างระเหยได้เร็วกว่า
หน้าแคบ 

        
           การทดลอง ดูดความร้อน



           สรุปได้ว่า น้ำแข็งติดผ้า เกลือดูดความร้อน ทำให้น้ำแข็งติดผ้าพันแผล



             การทดลอง ความกดดันของน้ำ


           สรุปได้ว่า น้ำพุ่งออกมาเท่ากันขวดต่างกัน,เทน้ำออกเท่ากัน น้ำพุ่งเท่ากัน,ในแต่ระดับความลึกจะมีแรงดันไม่เท่ากัน,น้ำที่ระดับความสูงเท่ากัน น้ำจะพุ่งเท่ากัน,ปริมาตรลดลงแรงกดดันเลยพุ่งออก,แรงกดดันขึ้นอยู่กับระดับของน้ำ


ทักษะที่ได้รับ
    - ได้รู้จักการทดลองที่เพิ่มขึ้น
    - รู้เกี่ยวกับน้ำ

การนำไปประยุกต์ใช้
    - เป็นแนวทางในการสอน 
    - นำไปทำเป็นสื่อการสอน

หมายเหตุ
   - การบ้าน  ประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์มา 1 ชิ้น (เขียนแค่วิธีการมาส่งก่อน)
                  เอาใบไม้ทับไว้ให้แห้ง ทำเป็นว่าว