วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การเข้าเรียนครั้งที่6

วันที่ 17 กรกฎาคม 2556

กิจกรรมการเรียนการสอน


         หมายเหตุ      เนื่องจากวันนี้อาจารย์ผู้สอนติดภาระกิจ จึงไม่มีการเรียนการสอน   แต่อาจารย์ผู้สอนได้มอบหมายงานไว้   คือ  ให้คิดการทดลองวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และ  สื่อวิทยาศาตร์ที่ไว้ในมุมเสริมประสบการณ์

การทดลอง


กาวอากาศ







วัสดุอุปกรณ์
  1. ลูกโป่ง
  2. แก้วน้ำเหลือใช้
  3. ที่สูบลูกโป่ง
  4. จานแบนใส่น้ำมานิดหนึ่ง


วิธีทำ 
  1. เอาปากแก้วจุ่มลงไปในน้ำเล็กน้อย 
  2. เป่าลูกโป่ง (ขนาดตามต้องการ)
  3. เอาแก้วทั้งสองในประกบติดที่ลูกโป่ง(คนละด้าน)
  4. ตกแต่งลูปโป่งตามใจชอบ

หลักการทางวิทยาศาสตร์

        เมื่่อเรากดแก้วติดกับลูกโป่ง จะทำให้ส่วนโค้งของผิวลูกโป่งอยู่ลึกเข้าไปในปากแก้ว พอเป่าลมเข้าไปเรื่อยๆทำให้ลูกโป่งขยายตัวขึ้น ความโค้งของผิวจะลดลง เนื้อที่ภายในแก้วจึงเพิ่มขึ้น แต่ปริมานของอากาศมีเท่าเดิม จึงทำให้ความดันในแก้วลดลงน้อยกว่าความดันของอากาศภายนอก เกิดภาวะที่เรียกว่าศูนย์ยากาศบางส่วน ความดันอากาศภายนอกจึงดันแก้วให้ติดแน่นอยู่บนผิวของลูกโป่ง
        ประโยชน์ของความดันอากาศ ที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน  เช่น การดูดหมึกเข้าไปในปากกาหมึกซึม , ลูกยางติดกระจกในห้องน้ำ







สื่อวิทยาศาสตร์ มุมประสบการณ์

แมงมุมน้อย


อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม
  1. ฝาขวดกาแฟ
  2. แฟ้มกระดาษ
  3. ดินสอ
  4. กรรไกร
  5. ไม้บรรทัด
  6. ปากกา
  7. หมุดยึดกระดาษ
อุปกรณ์ที่ใช้ทดลองเพิ่มเติม
  1. กรรไกร
  2. ไม้บรรทัด
  3. ด้ายเย็บผ้า
  4. กระดาษ
  5. กาว
วิธีทำ
  1. วางฝาขวดกาแฟทาบบนแฟ้มกระดาษ
  2. ใช้ดินสอลากเส้นรอบขอบฝา
  3. ตัดรูปวงกลมออกมาให้ทะลุแฟ้มทั้งสองชั้น
  4. ใช้ไม้บรรทัดกับดินสอขีดเส้น 2 เส้น ตัดกันบนกระดาษกลมแต่ละแผ่น เพื่อแบ่งวงกลมให้เป็นสี่ส่วนเท่าๆกัน
  5. ตัดส่วนหนึ่งในสี่ส่วนของกระดาษกลมออกตามตัวอย่าง
  6. พลิกกระดาษกลับไปอีกด้าน แล้วเขียนคำว่า แมงมุม กำกับไว้
  7. ใช้ดินสอวาดภาพพร้อมเขียนข้อความกำกับขั้นตอนการเติบโตของแมงมุมทั้ง 4 ขั้น ตามตัวอย่างข้างล่างบนกระดาษกลมอีกแผ่น แล้วใช้ปากกาเขียนทับรูปและตัวหนังสือที่เขียนร่างไว้
  8. ใช้ดินสอเจาะรูตรงกลางกระดาษกลมแต่ละแผ่น
  9. วางกระดาษกลมทั้งสองแผ่นซ้อนกันโดยให้แผ่นแรกที่ตัดส่วนหนึ่งออกทับข้างบน หงายด้านที่เขียนคำว่าแมงมุมขึ้น เราจะมองเห็นรูปบนกระดาษแผ่นล่างที่ตัดออก
  10. ใช้หมุดยึดติดกระดาษกลมทั้งสองแผ่นไว้ด้วยกัน เราก็จะได้ผังแสดงวงจรการเติบโตของแมงมุม
  11. วางผังแสดงวงจรบนโต๊ะ ใช้มือหนึ่งจับแผ่นบนไว้ อีกมือหนึ่งหมุนวงกลมแผ่นล่างทวนเข็มนาฬิกา เราจะเห็นการเติบโตขั้นต่างๆ ทางส่วนที่ตัดออกที่ละขั้น

ใช้กับเด็กได้อย่างไร

        เด็กๆจะได้เห็นการเจริญเติบโตของสัตว์  แมงมุมเกิดจากไข่ มันฟักออกมาเป็นแมงมุมตัวจิ๋ว แล้วค่อยๆๆโตเป็นแมงมุมตัวโต


ภาคผนวก





การเข้าเรียนครั้งที่ 5

วันที่ 10 กรกฎาคม  2556


อาจารย์เข้าสอน  :  08.45 น.
นักศึกษาเข้าเรียน  :  08.20  น.


กิจกรรมการเรียนการสอน

องค์ความรู้ที่ได้รับ

   - นำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์ "ปิงปองหมุนวน"




วัสดุอุปกรณ์

     1. ลวด
     2. ตะเกียบ
     3. ฝาขวดน้ำหรือปิงปอง
     4. ยางลบ

ขั้นตอนการทำ

    1. ดัดลวดเป็นวงกลม พันไว้กับไม้ตะเกียบด้านใดด้านหนึ่ง


2. นำยางลบก้อนสี่เหลี่ยมเสียบกับไว้ตะเกือบด้านที่เหลือ


3. นำฝาขวดมาเจาะรูตรงกลาง ร้อยใส่ไปในลวดที่ไม่ได้ผูกไว้
4. เสียบปลายลวดทั้งสองข้างไปที่ยางลบ



วิธีเล่น

     จับที่ปลายไม้ตะเกียบด้านบนแล้วหมุนไปตามแรงของเรา

หลักการทางวิทยาศาสตร์

     หลักการเคลื่อนที่แบบวงกลม การที่วัตถุเคลื่อนที่เป็นวงกลมรอบศูนย์กลางเกิดขึ้นเนื่องจากทิศทางการเคลื่อนที่ของวัตถุจะเป็นเส้นตรงเสมอ มีแรงดึงวัตถุเข้าสู่ศูนย์กลาง ทำให้วัตถุเคลื่อนที่เป็นวงกลม ส่วนแรงที่เป็นคู่ตรงข้ามกับแกน เข้าสู่แกนกลางเรียกว่า แรงเหวี่ยง หรือ แรงหนีศูนย์กลาง

ทักษะที่ได้รับ
      - ได้รู้หลักการการเคลื่อนที่
      - การนำวัสดุเหลือใช้มาทำเป็นสื่อ

การนำไปประยุกต์ใช้
      - การนำสิ่งต่างๆๆมาปรับใช้ในการสอน
      - การนำเสนองานต้องพูดให้ชัดเจน



การเข้าเรียนครั้งที่4

วันที่ 3 กรกฎคม  2556



อาจารย์เข้าสอน   08.35  น.
นักศึกษาเขารียน   08.20  น.

กิจกรรมการเรียนการสอน

องค์ความรู้ที่ได้รับ 

    1. อาจารย์นำสื่อวิทยาศาสตร์มาให้ดู   "กระบอกลูกปิงปอง"
     

กระบอกลูกปิงปอง สอนเรื่อง แสงทะลุผ่านทำให้มองเห็นลูกปิงปอง

    2. แจกกระดาษ 2 แผ่น ทำเป้นสมุดเล่มเล็ก "วาดรูป"



    3. ดู VDO เรื่อง มหัศจรรย์ของน้ำ

      

            การทดลอง แครอท แอปเปิ้ล




          สรุปได้ว่า สิ่งต่างๆในโลกย่อมมีน้ำเป็นส่วนประกอบ น้ำเป็นสิ่งสำคัญสำหรับสิ่งมีชีวิตทุกประเภท น้ำในร่างกายจะช่วยปรับสมดุลในร่างกาย

          น้ำมี 3 สถานะ
   1.  จากของแข็ง      เป็น  ของเหลว
   2.  จากของเหลว     เป็น  ของแข็ง
   3.  จากก๊าซ           เป็น  ไอน้ำ
         

          การทดลอง การระเหย




         สรุปได้ว่า น้ำในจานจะระเหยเยอะกว่า  น้ำระเหยเมื่อได้รับความร้อน ระเหยบนผิวน้ำ ผิวหน้ากว้างระเหยได้เร็วกว่า
หน้าแคบ 

        
           การทดลอง ดูดความร้อน



           สรุปได้ว่า น้ำแข็งติดผ้า เกลือดูดความร้อน ทำให้น้ำแข็งติดผ้าพันแผล



             การทดลอง ความกดดันของน้ำ


           สรุปได้ว่า น้ำพุ่งออกมาเท่ากันขวดต่างกัน,เทน้ำออกเท่ากัน น้ำพุ่งเท่ากัน,ในแต่ระดับความลึกจะมีแรงดันไม่เท่ากัน,น้ำที่ระดับความสูงเท่ากัน น้ำจะพุ่งเท่ากัน,ปริมาตรลดลงแรงกดดันเลยพุ่งออก,แรงกดดันขึ้นอยู่กับระดับของน้ำ


ทักษะที่ได้รับ
    - ได้รู้จักการทดลองที่เพิ่มขึ้น
    - รู้เกี่ยวกับน้ำ

การนำไปประยุกต์ใช้
    - เป็นแนวทางในการสอน 
    - นำไปทำเป็นสื่อการสอน

หมายเหตุ
   - การบ้าน  ประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์มา 1 ชิ้น (เขียนแค่วิธีการมาส่งก่อน)
                  เอาใบไม้ทับไว้ให้แห้ง ทำเป็นว่าว


    



วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การเข้าเรียนครั้งที่3

วันที่ 26 มิถุนายน 25556

กิจกรรมการเรียนการสอน



อาจารย์เข้าสอน  :  10.00  น. (เนื่องจากติดภาระราชการ)
นักศึกษาเข้าเรียน  :  08.30  น.

องค์ความรู้ที่ได้รับ

     ให้นักศึกษาดู VDO เรื่อง ความลับของแสง และ สรุปความรู้ที่ได้รับจากวีดีโอ

         


             สรุปเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ (ต่อจากสัปดาห์ก่อน)





ทักษะที่ได้รับ
     - ได้ทบทวนความรู้เดิมจาก VDO ความลับของแสง
     - เข้าใจในเรื่องแสงมากขึ้น

การนำไปประยุกต์ใช้
      - นำมาเป็นแนวทางในการสอน
      - นำมาเป็นแบบแย่างในการทำสื่อให้เด็ก
      - จัดกิจกรรมให้เด็กในแต่ละวัน